สถิติ
เปิดเมื่อ22/05/2012
อัพเดท23/10/2012
ผู้เข้าชม28048
แสดงหน้า30806
บทความ
การเมือง/สังคม/ประวัติศาสตร์
ตำแหน่งข้าราชการเมือง
ลัทธิวีรคติ
ฟาสซิสต์คืออะไร
สันติอโศก
สงครามกลางเมืองในกัมพูชา1
สงครามกลางเมืองในกัมพูชา2
ความรุนแรงกับนักการเมือง
พรรคการเมืองไทย
กฎหมาย
โมฆียะและโมฆะต่างกันอย่างไร
ก.พ.ค.คืออะไร
อำนาจนายกของไทย
จำแนกกฎหมาย
กิจกรรมพัฒนาชุมชน
กิจกรรมชุมชน4
กิจกรรมชุมชน3
กิจกรรมชุมชน2
กิจกรรมชุมชน
กลอนสด
กลอนสด
การศึกษา
คุยโม้โอ้อวด
คลังบทเพลง
บทวิเคราะห์/ความคิดเห็น
เทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์
รวมเว็บหารายได้ผ่านเน็ต
การอ่านค่ารีซิสเตอร์
การเกษตร-ปศุสัตว์
รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่1ฉบับเต็ม
ตำแหน่งข้าราชการพลเรือน
ปฎิทิน
April 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
    




อำนาจนายกของไทย

อ่าน 316 | ตอบ 0

 

 

 

 

ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2551 หรือฉบับก่อนหน้านั้น ได้ให้อำนาจนายกรัฐมนตรีไว้ในมาตรา 11 ตาม พ.ร.บ.นี้ดังนี้

 

มาตรา 11 นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาลมีอำนาจหน้าที่ดังนี้

 

( 1 ) กำกับโดยทั่วไปซึ่งการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อการนี้ จะสั่งให้ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการซึ่งมีหน้าที่ควบคุมราชการส่วนท้องถิ่น ชี้แจง แสดงความคิดเห็น ทำรายงายเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการ ในกรณีจำเป็นจะยับยั้งการปฏิบัติราชการใดๆที่ขัดต่อนโยบายหรือมติของคณะรัฐมนตรีก็ได้ และมีอำนาจสั่งสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการของราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น

 

( 2 ) มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีกำกับการบริหารราชการของกระทรวงหรือทบวงหนึ่งหรือหลายกระทรวงหรือทบวง

 

( 3 ) บังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายบริหารทุกตำแหน่ง ซึ่งสังกัดกระทรวงทบวง กรม และส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นกรม

 

( 4 ) สั่งให้ข้าราชการซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรมหนึ่งมาปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี โดยจะให้ขาดจากเงินเดือนทางสังกัดเดิมหรือไม่ก็ได้ ในกรณีที่ให้ขาดจากอัตราเงินเดือนทางสังกัดเดิมให้ได้รับเงินเดือนในสำนักนายกรัฐมนตรีในระดับ และขั้นที่ไม่สูงกว่าเดิม

 

( 5 ) แต่งตั้งข้าราชการซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรมหนึ่ง ไปดำรงตำแหน่งของอีกกระทรวง ทบวง กรม หนึ่งโดยให้ได้รับเงินเดือนจากกระทรวง ทบวง กรมเดิม ในกรณีเช่นว่านี้ให้ข่าราชการซึ่งได้รับแต่งตั้งมีฐานะเสมือนเป็นข้าราชการกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งตนมาดำรงตำแหน่งนั้นทุกประการ แต่ถ้าเป็นการแต่งตั้งข้าราชการตั้งแต่ อธิบดีหรือเทียบเท่าขึ้นไป ต้องได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี

 

( 6 ) แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานที่ปรึกษา ที่ปรึกษา หรือคณะที่ปรึกษา ของนายกรัฐมนตรี หรือเป็นคณะกรรมการเพื่อปฏิบัติราชการใดๆและกำหนดอัตราเบี้ยประชุมหรือค่าตอบแทนให้แก่ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้ง

 

( 7 ) แต่งตั้งข้าราชการการเมืองให้ปฏิบัติราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี

 

( 8 ) วางระเบียบปฏิบัติราชการเพื่อให้การบริหาราชการแผ่นดินเป็นไปโดยรวดเร็ว เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่น

 

( 9 ) ดำเนินการอื่นๆในการปฏิบัติตามนโยบาย

 

ระเบียบตาม ( 8 ) เมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้วให้ใช้บังคับได้

 

 

กังวาล ทองเนตร รัฐศาสตร์ เอกการปกครอง มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :